วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัดกู่คำ Koo Khum Temple

คำเป็นภาษาเหนือแปลว่าทองคำ ส่วนคำว่ากู่ไม่รู้ว่าภาคกลางใช้คำเดียวกันหรือเปล่าแต่ว่าภาษาเหนือหมายถึงเจดีย์และหมายรวมถึงเจดีย์อะไรเล็กๆที่มีรูปร่างเดียวกันกับเจดีย์ใช้สำหรับเก็บกระดูกไว้ในวัดด้วย
Northern word Koo means Pagoda. Kum mean Tongkum(Thai central word) mean gold. 

               วันที่ฉันไปเยือนวัดกู่คำเป็นตอนเย็นแล้ว เกือบมืด ตอนแรกนึกว่าภาพที่ได้จะไม่สวย  แต่พอยืนถ่ายรูปสักพักก็ไม่น่าเชื่อว่าอยู่ดีๆ ฟ้าก็เปิดและมีแสงสีทองของพระอาทิตย์ยามเย็นส่องสิ่งก่อสร้างที่ประดับด้วยกระจก   ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพระธาตุ วิหาร หอไตร ที่ประดับด้วยกระจกดูสวยงามแวววาวด้วยสีจากกระจกและสีทองอร่าม จึงสวยสมชื่อวัดกู่คำจริงๆค่ะ  I visited this temple at the     evening and so worry the light not enough and picture won’t pretty. Next after I took some picture the light come and I got lot of beautiful picture from the light from sparkling color glass that decorated elaborate on Pagoda, Vihan and Hall trai, I’m so impress and beautiful that time and know why people call it’s name Koo-come.. The name come from the golden color from this beautiful pagoda!

วิหารวัดกู่คำ Vihan of  Koo-Come temple.





ตรงฐานมีรูปและอนุสาวรีย์ครูบาบุญปั๋น แต่ไม่ได้จารึกประวัติหรือความสำคัญของท่าน ต่อไปถ้าหากมีเวลาจะได้หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติท่านค่ะ At the base of the pagoda there is the Monk monument name Boon Pan but doesn’t show about history next time if I have time I will searching this story.




หน้าวัด ประตูมีสิงห์เฝ้าหน้าประตูเหมือนวัดอื่นแต่มีรูปผู้หญิงด้วย  The main gate there are 2 Lion statues, different from the other place that contain woman with lion.

อุโบสถวัดกู่คำ Ubosot

อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวิหาร ถึงจะไม่ได้เข้าไปในอุโบสถแต่ดูข้างนอกเห็นโครงสร้างนี้ก็ทำให้รู้ว่าตัวอาคารสร้างด้วยโครงสร้างหลังคาแบบโบราณคือสร้างด้วยไม้ ส่วนลวดลายประดับภายนอกน่าจะสร้างขึ้นใหม่หรือได้รับการบูรณะมาหลายยุคจนถึงปัจจุบัน มีซุ้มประตูเข้าอุโบสถวัดกู่คำติดกับโรงเรียนเทศบาล Ubosot set at north east of Vihan. I guess it’s old structure from classic wooden structure(Now they don’t use wood) there is a small wall around and the gate next to the school that set inside the area of this temple.




ศาลาการเปรียญวัดกู่คำอยู่ทางทิศเหนือของวิหารหรือว่าอยู่หลังอุโบสถนั่นเองแต่อุโบสถจะมีกำแพงเล็กๆกั้นโดยรอบ Sala kan priaj set west next to Ubosot.

ศาลาการเปรียญ Sala Kran Priaj

Hall Trai หอไตร

หอไตรวัดกู่คำ เป็นปูนแต่โครงสร้างหลังคาเป็นไม้ ชายคาเขียนด้วยลายคำ ลอกไปบางส่วนแล้ว  ส่วนสันหลังคาและลวดลายซุ้มประตูเป็นปูนประดับด้วยกระจกส่องแสงแวววาวเมื่อแสงแดดยามเย็นส่องกระทบ สวยงามมากค่ะ Hall Trai made from cement but roof structure is wood. There is elaborate Lai come at the edge of the roof but the top is cement and decorate with color pieces of glass.. so beautiful when it’s sparkling with evening light.

ประวัติวัดกู่คำ

วัดกู่คำตั้งอยู่เลขที่ 220 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พื้นที่ ของวัดตามหลักฐาน เป็นโฉนดที่ดินอยู่ 2 แปลง โฉนดที่ ๕๒๖๓ เล่ม ๕๓ ม. หน้า ๖๓ เนื้อที่ 4 ไร่ 15 ตารางวา และ โฉนดที่ดิน ๕๒๖๔ เล่ม ๕๓ ม. หน้า ๖๔ (ที่ธรณีสงฆ์) เนื้อที่ 1 งาน 20 ตารางวา (ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ) รวมพื้นที่บริเวณของวัดทั้งสิ้น 4 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา

วัดกู่คำมี อดีตการสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1920 โดยไม่มีการบันทึกให้ทราบชัดเจนมากนัก นอกจากรอยดินสอที่บันทึก พ.ศ. การตั้งวัดไว้บนโฉนดที่ดินของวัด กับ ประวัติที่เล่าสืบทอดต่อกันมาว่า

เดิม ณ ที่แห่งนี้ มีซากเจดีย์เ่ก่าแก่ ที่เป็นซากกองอิฐปรักหักพังทับถมกันอยู่คล้ายกู่ หรือ เจดีย์ร้างครึ่งองค์ ที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก ซึ่งชาวบ้านพากันเรียกกันว่า "กู่"

ต่อมามีชาวจีนชื่อแดง หรือ ชื่อที่ทราบมาภายหลังที่จารึกไว้ในคัมภีร์ธรรมล้านนาว่า "หลวงขจัด ทัณฑนิกร" ได้ร่วมกับชาวบ้านช่วยกันบูรณะองค์กู่ หรือ เจดีย์ให้เต็มองค์ขึ้น หลังจากนั้นได้นิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาที่วัดแห่งนี้ และ พากันเรียกตามชื่อชาวจีนที่มาบูรณะว่า "วัดกู่แดง"

ต่อมามีการก่อ สร้างบูรณะถาวรวัตถุเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า "วัดกู่คำ" และ ได้ใช้ชื่อนี้เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.2440 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดที่ถูกต้อง ขึ้นทะเบียนของกรมการศาสนาสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ให้ชื่อว่า"วัดกู่คำ" มาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ (ขอขอบคุณเว็บ moonfleet ค่ะ)


   This temple doesn’t have English sign just like the outside city wall temples. There is a pencil write on the temple’s deed, built around 1920 BE.  And the history that talk generation to generation. The last time there was pagoda’s remain and next time Chinese name Dang or well know from Lanna manuscript about his name is Luang(his title) Kajad Tantanikorn and the villager restored be perfect Koo. First they call Koo Dang from the name of restored name.  
   Next time they did more other buildings for generations. At 2440 BE. Changed temple’s name is Koo-Come temple.

This temple very easy to find by setting south west near R-Ket bus station and you can walk around 2-300 meters to the temple. วัดนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสถานีขนส่งอาเขตสามารถเดินไปได้ประมาณ 2-300 เมตรค่ะ


 26-2-54-e

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น