วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ช่างผู้สร้างวัดในเชียงใหม่

แต่โบราณ ไม่ค่อยปรากฎนามผู้สร้างศิลปะเหล่านี้ โดยทั่วไปนิยมปรากฎแต่นามผู้ออกทุนทรัพย์สร้าง  แต่ช่างผู้รังสรรค์งานศิลป์ที่งfงามเหล่านี้จึงเป็นผู้ปิดทองหลังพระโดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโครงสร้าง ลายปูนปั้น ภาพเขียน ลายคำ ฯลฯ  เท่าที่พบเห็นปรากฎน้อยนักที่จะแสดงชื่ออย่างเปิดเผย ทั้งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าผู้ออกทุนทรัพย์สร้างเลย เท่าที่ปรากฎในประวัติศาสตร์ มีจารึกชื่อน้อยมาก  เท่าที่จำได้ก็มี หมื่นด้ามพร้าคต ช่างสมัยพระเจ้าติโลกราช, ช่างผู้เขียนภาพในผนังวัดพระสิงห์ จำไม่ได้แล้วว่าชื่ออะไร เท่าที่จำได้คือช่างแกวาดรูปตัวแกว่าเป็นคนจีนอยู่ในภาพเขียนด้วยก็เลยรู้ว่าใครเขียนภาพนั้น นี่คือข้อเสียของช่างเหล่านี้เพราะทำให้สูญเสียข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยู่มาก ไม่เหมือนต่างประเทศที่ช่างนิยมจารึกชื่อของตนไว้ในงานศิลปะทำให้รู้ว่าที่ไหนเป็นงานของใครและเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อมา  โดยเฉพาะงานปูนปั้นของล้านนานั้นวิจิตรและสวยงามไม่แพ้ที่อื่น แต่ก็ไม่ปรากฎผู้สร้างสรรค์งานเหล่านี้  โดยเฉพาะสมัยก่อนไม่ทันสมัยเหมือนเดี๋ยวนี้ ซึ่งสามารถค้นหาชื่อของช่างผู้สร้างสรรค์งานได้ง่ายทางอินเตอร์เนต  แต่ก็ยังไม่นิยมเผยแพร่ชื่อช่างอยู่ดี(เดี๋ยวก็เหมือนอดีตอีกหรอกคือไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ) จริงอยู่ผู้บริจาคทรัพย์เป็นผู้มีความสำคัญในแง่ผู้ก่อให้เกิดงานศิลปะที่สวยงามแต่ช่างผู้สร้างสรรค์ก็สำค้ญและควรเชิดชูเกียรติเช่นกัน เพราะพวกเขาจะได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของตน  โดยเฉพาะหากพวกเขาเป็นผู้มีชื่อเสียงแล้วจะเกิดการสืบทอดงานศิลปะของเขาสู่ชนรุ่นหลังเพราะเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน(ไม่ได้ถูกลืมเหมือนเช่นปัจจุบัน)  ดังนั้นหากผู้บริจาคทรัพย์จะกรุณาแจ้งให้ช่างจารึกชื่อด้วยก็คงจะเป็นเีกียรติแก่ตัวท่านและบ้านเมืองในแง่ของประวัติศาสตร์ที่ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา  สิ่งนี้ทำให้ฉันเกิดแนวคิดที่ว่า การออกไปถ่ายรูป ถ้าสืบหาประวัติของช่างผู้สร้างก็น่าจะเป็นประโยชน์และสร้างคุณค่าในแง่ของประัวัติศาสตร์เช่นกัน ต่อไปถ้าหากมีโอกาสไปถ่ายรูปอีก จะไม่ลืมสอบถามผู้สร้างสิ่งต่างๆ ในวัดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

27-08-54 วันเสาร์เป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่เดินทางไปที่วัดช่างเคี่ยน ทำให้ทราบชื่อช่างลายคำผู้หนึ่ง ข้าพเจ้าจึงมีโอกาสได้สัมภาษณ์และบันทึกภาพช่าง ทำให้ทราบข้อมูลของช่างผู้นี้ว่ารังสรรค์งานศิลป์ลายคำไว้หลายวัด (โชคดีจริงๆ) ต่อไปข้าพเจ้าจะได้เขียนเรื่องราวและข้อมูลของช่างผู้นี้ และช่างอื่นๆต่อไป แต่อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลอยู่ค่ะ

เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ติดตามเรื่องช่างศิลป์ของวัดในเชียงใหม่  ได้ย้ายไปไว้ในอีกเว็บหนึ่งชื่อเว็บ chiangmai magaznine ส่วน link คือ http://informationchiangmai.blogspot.com/ ค่ะ 
ท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้โดยคลิกที่นี่ 
 
 
สาเหตุ ที่ต้องย้าย เนื่องจากเว็บนี้จะใช้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับวัดของอำเภอเมืองโดยเฉพาะ  ส่วนวัดในอำเภออื่นและเรื่องราวอื่นๆ เกี่ยวกับเชียงใหม่จะรวมไว้ที่เดียวที่เว็บ
chiangmai magaznine เพื่อให้เป็นจุดรวมสำหรับผู้ที่สนใจวัดในอำเภออื่น แต่จะทะยอยลงเนื่องจากต้องรอให้อำเภอเมืองครบก่อนค่ะ อาจช้าหน่อยนะคะเนื่องจากต้องทำงานประจำบางวันก็ยุ่งมาก ที่จริงบางวัดก็ถ่ายไปแล้วแต่ไม่สามารถลงได้เนื่องจากต้องคัดเลือกและตัดต่อ ภาพเพื่อลงเว็บไซต์ซึ่งต้องใช้เวลานิดหน่อยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น