วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดทุงยู เชียงใหม่ Tung You Temple
















พญานาคหน้าวิหารที่นี่ถึงจะบูรณะจนดูเหมือนใหม่แต่ก็คงรูปแบบเดิมของล้านนาไว้คือหงอนจะสั้นๆ เพราะสังเกตของเก่าที่หน้าหอไตรวัดพระสิงห์ก็หงอนสั้นๆแบบนี้เหมือนกันค่ะ


พระประธานในวิหารวัดทุงยู  เพราะว่าเห็นพระองค์เล็กๆ รอบพระประธาน ไม่ชัดเลยลงไว้ แต่รูปที่เห็นพระองค์เล็กๆชัดๆจะไม่ลง(กลัวพวกขโมยจะใช้ประโยชน์ได้)

ทุงยู2.2.54วัดทุงยู
ฉันไปเยือนวัดนี้ตอนเย็น จำได้ว่าวันนั้นใกล้ค่ำมากแล้ว เขาจะปิดวิหารหลวงของวัดอยู่แล้ว แต่พระท่านก็มีเมตตาไม่ไล่ไปซะก่อน555 แสงในวิหารเลยไม่ค่อยมีเพราะใกล้จะมืดแล้ว  วิหารที่นี่มีเอกลักษณ์คือเสาคู่หน้าวิหารค่อนข้างสูงชะลูดกว่าที่อื่น(ลองสังเกตวัดอื่นจะใช้เสาคู่ข้างหน้าตรงทางเข้าวิหารรับจั่วไม่ว่าจะใช้รับน้ำหนักโดยตรงหรือไม่ก็ตามแต่ที่นี่เสาสูงไปจรดหลังคา ส่วนภาพในจั่วก็อยู่ในกรอบที่ขนาบด้วยเสาก้อเลยมองว่าเสาสูงอ่ะค่ะ) เสาหน้าวิหารประดับด้วยลายปูนปั้นซึ่งชำรุดบ้างแล้ว แต่ก็ยังดีที่ว่าพวกเขายังไม่เปลี่ยนแปลงลวดลายและรูปแบบของเสา เพราะรู้สึกว่าเลยมาหลายปีก่อนก็ยังเป็นแบบนี้อ่ะค่ะ เสียดายที่ไม่มีกล้องถ่ายภาพเก็บไว้แบบนี้เลยไม่รู้จะเปรียบเทียบกับอะไรดีค่ะ แต่สงสัยต้องกลับไปถ่ายวัดนี้ใหม่เพราะว่าแสงไม่พอภาพส่วนใหญ่ก็เลยไม่ชัดค่ะ I was visit this temple in the evening after finish my routine work and when I had reached this temple it’s almost dark. The monk almost close Vihan but they let me took a picture. The light in Vihan don’t have much make my picture not so good and I have to get back to take a picture of the painting of wall inside Vihan. This temple has very special a pair of main pillar in front of Vihan that so tall to supported the high level of roof. I remember this pillar still has same style with high and decorate though today some of the decorate sculpture lost with time.
4.พญานาคหน้าวิหารที่นี่ถึงจะบูรณะจนดูเหมือนใหม่แต่ก็คงรูปแบบเดิมของล้านนาไว้คือหงอนจะสั้นๆ เพราะสังเกตของเก่าที่หน้าหอไตรวัดพระสิงห์ก็หงอนสั้นๆแบบนี้เหมือนกันค่ะ
Naga or imagination aminal looks like big snake or dragon still has same classic style as the old time you can notice the crest of Naga still short as classic style at Hall tri of Sing temple that still be old style.
อุโบสถ สร้างค่อนข้างดีเพราะผนังเป็นหินอ่อน ดูจากลวดลายทั้งหมดก็สวยงามดีคาดว่าคงจะสร้างขึ้นใหม่ ถึงจะสร้างขึ้นใหม่แต่ก็อยากถ่ายไว้ตอนที่ยังสภาพดีอยู่ เพราะเมื่อชำรุดไปแล้วจะได้ดูว่าของเดิมตอนที่สภาพยังดีๆอยู่เป็นอย่างไร หากมีใครอยากซ่อมขึ้นมา ไม่รู้ว่าจะซ่อมยังไงให้เหมือนเดิมก็ยังพอหาตัวอย่างได้จากภาพถ่ายของฉันเพราะถ่ายไว้ละเอียดจริงๆ ทุกซอกทุกมุม ยกเว้นข้างในเพราะเขาห้ามผู้หญิงเข้าค่ะ
Ubosot built with marble and I guess it’s might be new building because of the old northern never use marble for building.  Though it’s new building but I still want to take a picture when it’s still pretty and perfect. Because when the time pass everything always decay with time.  At least my picture can claim them to build as the same it’s beauty. Truly I really want to take a picture inside and all of it too but unlucky I’m a girl and they not allow a girl inside there.
เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างอยู่บริเวณถนนคนเดินวันอาทิตย์ ดังนั้นวัดจึงมีจารึกอย่างดีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษค่ะ เป็นธรรมดาของวัดที่เป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยว ตลอดจนวัดนี้มีพระเณรมากมายช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของวัด พระเณรท่านก็ดูสุภาพเรียบร้อยขยันขันแข็งดีค่ะ
This temple set in walking street market area that set every Sunday. Make this temple have a good sign of temple history with Thai and English. This temple has lot of diligent monks and novices clean up and take care of temple’s area and they looks so polite and good monks.
..............วัดส่วนใหญ่จะจารึกชื่อผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนสร้างวิหารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยจะจารึกไว้เป็นภาษาไทย ถ้าโชคดีหน่อยก็จะจารึกวันสร้างวิหารหรือสิ่งปลูกสร้างด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นซุ้มประตู บานหน้าต่างแต่ละบาน ก็จะมีรายชื่อผู้สร้างหมด แต่ที่ส่วนใหญ่จะไม่ให้ความสนใจในการจารึกก็คือวันที่สร้างหรือบูรณะ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์แต่ก็ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญ ส่วนวัดที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการจากรึกวันที่สร้างสิ่งต่างๆในวัดก็คือ วัดป่าดาราภิรมย์ซึ่งอยู่แถวบ้านดิฉันเองค่ะ เพราะว่าจารึกวันที่สร้างสิ่งปลุกสร้างทุกอย่างแม้กระทั่งหอพระหรือหอระฆังก็ยังให้ความสำคัญเรื่องประวัติศาสตร์โดยการจารึกวันที่สร้างหรือบูรณะไว้หมดทุกอย่างเลย น่าชื่นชมจริงๆ ค่ะ แถมพระเณรที่วัดส่วนใหญ่ก็สุภาพเรียบร้อยขยันขันแข็ง ช่วยกับดูแลความสะอาดของวัดเป็นอย่างดี
Normally buildings in temple every pieces just like pane door gate painting in the wall always has the name of donator but they not interest to put the name of date and time that they restored. That thing really important about history of each building but no one care to put it.  About the best temple about beauty and history is my area temple name Wat Pa da ra pi rom in Maerim area. This temple every building has a sign to tell history about date and time of built. The temple also has good and polite monk and novice to take care of temple.
ประวัติวัดทุงยู
คำว่าทุงยู ปรากฏในวรรณกรรมและกฎหมายโบราณ หมายถึงร่มที่เป็นเครื่องประดับยศเจ้านาย วัดทุงยูเป็นวัดเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย พบชื่อในโคลงนิราศหริภุญไชย ซึ่งเขียนเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๐๖๐  วัดทุงยูได้รับการบรูณะและฟื้นฟูจากเจ้าหลวงเชียงใหม่สืบต่อมาดังปรากฏในพ.ศ.๒๔๕๒ เจ้าอินทวโรรสสุรยิวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ โปรดให้สร้างฉัตรพระเจดีย์

                The word Tung yu appears in ancient literature and old laws where it means the ceremonial umbrella denoting the rank of a prince. The monastery has been in existence since the time of the Mang rai dynasty 1260-1578 it is metioned in the poetical work Nirat Hariphunchai, composed around 1517
            Wat tung you later was repeatedly renovated by the ruling princes of Chiangmaii. In 1909 Prince Intawarorot Suriyawong had the tiered umbrella at the top of the stupa made.

เจดีย์เป็นทรงพม่าค่ะ
Pagoda is Burma style.
และหลังวิหารก็มีบันไดและประตูทางขึ้นสำหรับพระสงฆ์เดินเข้าไปในวิหารโดยไม่ต้องผ่านประชาชนค่ะ
 The back of Vihan also have a small door for monk get inside Vihan without passing people that may lead them disciple if they touch woman.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น