T.Sri-phum ต.ศรีภูมิT. Prasing ต.พระสิงห์

Tumbol Sriphum ต.ศรีภูมิ 22 temples(วัดwat)
  1. Koo tao temple วัดกู่เต้า
  2. Kuankama temple วัดควรค่าม้า
  3. Chaiprakiet temple วัดชัยพระเกียรติ
  4. Chiangman temple วัดเชียงมั่น
  5. Chiangyuen temple วัดเชียงยืน
  6. Duangdee temple วัดดวงดี
  7. Dokkham temple วัดดอกคำ
  8. Dokeuang temple วัดดอกเอื้อง
  9. Dapai temple วัดดับภัย
  10. Tungyou temple วัดทุงยู
  11. Prasat temple วัดปราสาท     
  12. Banping temple วัดป้านปิง 
  13. PaPao Temple วัดป่าเป้า
  14. Papraonai temple วัดป่าพร้าวใน 
  15. Papong temple วัดผาบ่อง 
  16. RajaMonTian temple วัดราชมณเฑียรตำบลศรีภูมิ
  17. Lamchang temple วัดล่ามช้าง
  18. Lokmolee temple วัดโลกโมฬี
  19. Sumpao temple วัดสำเภา
  20. Morkhumtuang temple วัดหม้อคำตวง
  21. Muenlan temple  วัดหมื่นล้าน
  22. Umong Derajan temple วัดอุโมงค์เถระจันทร์ 

T. Prasing ต.พระสิงห์

Tumbol Prasing ต.พระสิงห์ 17 temples(วัดwat)
  1. Changtam temple วัดช่างแต้ม
  2. Saimoonpama วัดทรายมูลพม่า
  3. Saimoonmuang วัดทรายมูลเมือง
  4. Pakao วัดผ้าขาว
  5. Pajaomengrai วัดพระเจ้าเม็งราย
  6. Puaktam วัดพวกแต้ม
  7. Puakhong วัดพวกหงส์
  8. Pantao วัดพันเตา
  9. Panwan วัดพันแหวน
  10. Pan on วัดพันอ้น
  11. FonSoi วัดฟ่อนสร้อย
  12. Maetang วัดเมธัง
  13. Srikuad วัดศรีเกิด
  14. Muannguankong วัดหมื่นเงินกอง
  15. Muentoom วัดหมื่นตูม
  16. Prasing วัดพระสิงวรมหาวิหาร
  17. JD Luang วัดเจดีย์หลวง 

วัดพันเตา Pun tao Temple


ใน ตำนานประวัติดั่งเดิมของวัดจะมีอายุเก่าแก่ใกล้เคียงร่วมสมัยเดียวกับวัด เจดีย์หลวงจากอดีตของคนในสมัยโบราณ คิดจะสร้างบ้านสร้างเมืองหรือวัด จำเป็นต้องคำนึงถึงการหาทำเลที่เป็นมงคล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์หลวง ใจกลางเมืองเชียงใหม่ คำว่า " พันเตา "ใน อดีต คนเมืองเชียงใหม่ไม่ได้เรียกชื่อกันแบบนี้ แต่นิยมเรียกกันว่า "วัดปันเต้า" หรือ "วัดพันเท่า" ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่เพิ่มพูนขึ้นมากมาย เป็นร้อยเท่า พันเท่า เป็นการเขียนตามอักษรล้านนาแต่อ่านออกเสียงว่า ปันเต้าแล้วจึงกลายมาเป็น " พันเท่า " ทำ บุญที่ วัดปันเต้า (พันเท่า) ทำบุญเพียง 1 จะได้อานิสงส์มากกว่าพัน
ไม่ ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ใช้เป็นที่ตั้งเตาหลอม ในการหล่อพระอัฏฐารสในวิหารวัดเจดีย์หลวง จึงได้ชื่อว่าวัดพันเตา ต่อ มาประมาณปี พ.ศ. ๒๓๔๘ สาธุคัมภีระวัดพันเตาได้ถูกยกขึ้นเป็นสวามีสังฆราชาตั้งแต่นั้นมา วัดพันเตาคงมีความสำคัญมาก จนได้เป็นหัวหน้าหมวดอุโบสถ แม้แต่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดใหญ่ก็ยังขึ้นอุโบสถวัดพันเตาด้วย



They guess at the old time this temple had built close to JD Luang temple. At the old time Puntao  mean thousand time but today people change the voice of a bit of this temple name and this voice has no meaning. In the old time make a merit in this temple only one time but means make a merit for thousand times. The temple set at north east of JD Luang that believe it’s the good luck direction of location. Though don’t know the time of sat this temple but there is a legend that is temple use to be a blast furnace of Uttarod Buddha of JD luang temple so they call Puntao temple (tao mean furnace, Pun mean thousand)  




พระประธานในวิหารหลวง The buddha image in main Vihan


สิงโตตั้งอยู่บนกำแพงหน้าวัด ส่วนประวัติว่าทำไมถึงตั้งสิงโตไว้หน้าวัด เอาไว้จะเล่าสู่กันฟังคราวหน้านะคะ  The Lion on the wall in front of temple. About the history why they like to put lion up the wall in front of temple next time I'll tell about this story. 


ในเวลาต่อมา พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ( พ.ศ. 2413 – 2440 )รื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯสร้างเป็นพระวิหาร ใน พ.ศ.2418 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ.2412–2440)พระ บิดาของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (พ.ศ.2416–2476) ได้โปรดให้รื้อหอคำหรือคุ้มหลวงของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 (พ.ศ. 2390 – 2397) สร้างวิหาร ตาม จารีตในล้านนาและทำบุญฉลองวิหารแห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2429 นับเป็นวิหารไม้สักที่สร้างจากหอคำหรือคุ้มหลวงที่เหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ เพียงหลังเดียวในล้านนา
Next time Intavichayanon the prince of Chiangmai (that time this rank just like the king of Chiangmai) reign number 7th (2412–2440 BE.) The father of the consort of princess Dararasamee (2416–2476 BE.) ordered to pulled down the resident of Mahotaraprathet the prince of Chiangmai reign no.5(2390 – 2397 BE.) to built this Vihan by tradition of northern. It’s finished and cerebrated at 2429 BE. Now it’s the only vihan from the resident of prince is that still perfect in the northern



ประวัติความเป็นมาของหอคำพระเจ้ามโหตรประเทศ 1

               เดิมทีหอคำ ประดิษฐานอยู่ที่พระตำหนักเวียงแก้ว อันเป็นบริเวณเยื้องทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือศาลากลางเก่า หรืออนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตรงเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ ไปจนถึงวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่อยู่ในขณะนี้ ตามตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับหอคำหลังนี้ พระยาอุปราชมหาวงศ์ ได้สร้างขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อจุลศักราช 1209 ตรงกับ พ.ศ. 2390 เนื่อง จากท่านได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่จากพระยาอุปราชขึ้นเป็นพระยาเชียงใหม่ ท่านได้สร้างหอคำขึ้นไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป อันเป็นปูชนียวัตถุล้ำค่าภายในที่อยู่ของท่าน ท่านได้ทำการฉลองอย่างเอิกเกริก อนึ่งในการสร้างหอคำหลังนี้ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ใช้ช่างพื้นเมือง และช่างพม่าผสมกัน ต่อมาพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์ ได้รับพระราชทานเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้า มีพระนามในสุพรรณบัฏว่า พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดินทร์นพีสิทรมหานคราธิษฐาน ใน พ.ศ. 2396 พอได้รับพระราชทานธานันดรศักดิ์ได้ไม่กี่เดือนก็ถึงแก่พิราลัย
เมื่อ พระเจ้ามโหตรประเทศฯพิราลัยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงเทพมหานคร ทรงแต่งตั้งให้นายสุริยวงศ์ บุตรของพระเจ้าบรมราชาธิบดี(กาวิละ)ขึ้นเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 6 ต่อจากพระเจ้ามโหตรประเทศฯ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาได้ 16 ปีเศษ พิราลัยเมื่อ พ.ศ. 2413 เจ้าอุปราชอินทนนท์ รักษาการในตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาร่วม 3 ปี จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าอินทรวิชยานนท์พหลเทพภักดีฯ เจ้าครองนครเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2416  กาลเวลาล่วงเลย มาถึง พ.ศ. 2416 พระ เจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีพระราชดำริว่า หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯนั้น สมควรจะอยู่ในวัดมากกว่าอยู่ในวัง จึงทรงบัญชาให้ช่างช่วยกันรื้อหอคำ (หอคำ วัง หรือท้องพระโรงหน้า ของเจ้านครเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง) หอคำหลังนี้ได้ย้ายมาปลูกสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดพันเตา หรือวัดปันเต้า เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปก(ยกเสา)วิหาร หรือ วัดปันเต้ากลางเวียงเชียงใหม่ เพราะในขณะนั้นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่กำลังทรงปฏิสังขรณ์วัดหอธรรม วัดเจดีย์หลวง วัดสุขมิ้นอยู่แล้ว การก่อสร้างวิหารของพระอารามทั้งสามแห่งกับหอคำของ สำเร็จบริบูรณ์ ลงในพ.ศ. 2429 ทำการฉลองพร้อมกันทั้ง 4 แห่ง เมื่อวันอาทิตย์

History about the resident of Mahotarapratet
Before pulled down and turn to be vihan. This resident use to set north west obliquely to the old city hall(now at The tree kings monument) this resident Mahawong viceroy (Mahotarapratet) built for celebrated the promoted to be the king reign no.5 use craftsman from northern and burma. After be the king a few months he turn to die. Next time the king rama4 of Siam ordered Suriyawong prince son of Kavila (the king of chiangmai reign number 1st.) to be the king of Chiangmai reign number 6th named Kavilorojsuriyawong prince.  He be a king for 16 years and die at 2413 BE. After his die for 3 years the viceroy Intavichayanon had been ordered be the prince of Chiangmai at 2416 BE.  He thought this resident should sat in the temple so he ordered to move the resident to be vihan in Puntao temple.
 



โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหาร the architect structure of vihan
หน้า แหนบวิหาร มี หน้าแหนบที่เป็นไม้แกะสลักที่สวยงามที่สุดในล้านนา และมีลวดลายในโครงสามเหลี่ยม ตรงกลางแกะสลักรูปมอม ( มอม คือ พาหนะของเทพปัชชุนนะ เทพผู้บันดาลให้เกิดฝน) กรอบของซุ้มวิหารมีรูปวานรแบกตัวลวง 2 ตัว ทั้งสองข้าง ซึ้งตัวลวงนี้ใช้หางค้ำรูปแบบจำลองของประสาทส่วนฐานของรูปซุ้มเป็นท่อนไม้ 8 เหลี่ยม สลักลวดลายประจำยาม ซึ่งทำปลายเสาทั้งสองข้างเป็นรูปหัวเม็ด มีหงส์ยืนประกอบทั้งสองข้าง ซึ้งสมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทางช่างและภูมิปัญญา ในช่วงสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ใน พ.ศ. 2539 จึงใช้ภาพหน้าแหนบวิหารเป็นภาพแสตมป์ภาพหนึ่งในชุดแสตมป์ร่วมสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (หงส์ 2 ตัวที่ยืนประกอบทั้งสองข้างหายไปเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2540–2541 พฤษภาคม 2540 และได้คืนเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2541)
in front of vihan there carved wood to be some kind of gable, instead of gable as the other temple. Maybe it’s the most beautiful carved work of Northern.
it’s carved in the triangle shape and the middle carved a Mom ( mom is an animal of Puchunna angle, the angle about rain) there also has monkeys carry Luang (I think it’s some kind of Naka) and this Luang use its’ tail for support the stimulate castle. There are Hansas at both side of this triangle ( this Hansas use to lost in May 2540 BE. but got in back in 30 March 2541 BE. )  this carve picture used for stamp on 2539 BE. (Now you know how important about showing my picture here? Now  you understand why I’m prevent to show antiquate in temple.. the answer is don’t show for motive the theft. And I also call the buyer is a theft. And I blame them all to steal our worth.
ตัว อาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของ ฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือเป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่และหนากว่าฝาปะกน
the vihan building is architect from Chiangsan( the older history land located about Chaingrai) use wall technique like Ayataya but more stable because of it thicker. They use square and put inside with small pieces of woods. 


 

การ ทำฝาแบบทางเหนือนั้น ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อน แล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลัง ฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคง เพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย
the northern technique built a square first and put the small woods after the structure finish so why this building so stable. The wall have to support the upper structure too.



เป็น ลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน ไม่มีการย่อมุขซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือคือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนัง ด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมา แล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหาร
the vihan very big the wall struckture can support the big building structure.






การบูรณะวิหาร

ทำการบูรณะส่วนฐานะและผนังด้านหลัง ซึ่งถูกฝนทำลายจนหลุดพังเสียหาย ประกอบกับเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนัก ส่วนของผนังด้านหลังเสียหายมาก เศษไม้ที่หลุดหล่นลงมาจมน้ำ บางส่วนก็ถูกน้ำพัดไปจึงได้มีการซ่อมผนังด้านหลัง โดยทำผนังคอนกรีตระหว่างช่วงเสาตรงกึ่งกลางผนัง สำหรับฐานเดิมของวิหารที่เป็นเสาไม้ ซึ่งมีการผุกร่อนมาก่อน ทางวัดได้ทำการเสริมฐานเสาเดิมด้วยคอนกรีต และทำการก่ออิฐโบกปูนเสริมระหว่างเสาจากบริเวณร่องตีนช้าง (ซึ่งหายไป) ลงมาจนถึงพื้นและทำพื้นซีเมนต์ ปูกระเบื้องเคลือบ (ราว 20 กว่าปีมาแล้ว ประมาณก่อน พ.ศ. 2518) ทำการซ่อมหลังคาและเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาในสมัยของท่านครูบาอินศวร ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้น
About restored Vihan
They use to restored the base and the wall behind vihan that destroyed by rain and flood. They fixed the base of pillars that use to be wood and crumbled by used concrete and pave ceramic floor, fixed the roof in Insuan abbot time.  

วัดพันเตาขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และกำหนดขอบเขตของวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ this temple turn to be ancient remains at 2520 BE.


เจดีของวัดพันเตา The pagoda of Puntao temple







The other building สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ
บริเวณ ที่พักอาศัยของสงฆ์ ได้แก่กูฏิ และที่ทำการมูลนิธิหลวงพ่อโต ซึ่งไม่ทราบประวัติการสร้าง ยังต้องหางบการเดินทางไปสัมภาษณ์ท่านเจ้าอาวาสอยู่ ถ้ามีเงินพอที่จะเดินทางไปถ่ายรูปเมื่อไรคงได้ข้อมูลที่สมบูรณ์แบบกว่านี้  The resident of monks just like Kutti and Luang por to foundation I don't know about time of built. But I intend to go again to ask about it's history when I have money enough to go again.

กุฏิ Kutti
 


The foundation มูลนิธิ













 ทาง วัดได้จัดทำทุ่งดอกทิวลิป 1000 ดอก (ดอกไม้พลาสติก) อยู่ข้างวิหาร เป็นมุมที่สวยงามเหมาะสำหรับถ่ายรูปมาก Beside of Vihan contain 1000 flowers Tulip garden (plastic) But very beautiful scene for take a picture there.


ประวัติธรรมมาสน์โบราณวัดพันเตา

The history about the old northern style pulpit in the form of an elaborately carved seat, antique in Pantao temple.

สร้าง โดยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 (พ.ศ.2416-2429)  สร้างคู่กับพระประธานในวิหาร ซึ่งนิยมสร้างพร้อมกันเป็นจารีต และมักมีลักษณะคล้ายๆกัน จำลองมาจากประสารทสรวงสวรรค์ และสร้างจากแรงศรัทธา ส่วนใหญ่จะมีบันไดสำหรับพระธรรมกถึก(พระนักเทศน์)เข้าไปนั่งข้างในที่มีขนาด พอดีตัว ยกพื้นสูง จุดประสงค์เพื่อให้มีเสียงกังวานดี เพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องขยายเสียงเหมือนสมัยนี้
It’s built at the reign of Inthavichayanon King of Chiangmai number 7th ( Na Chiangmai dynasty or Na Chiangmai surname today) at the same time of The Buddha image in Main Vihan. At the old time they always like to found the Buddha image same time of the north style Pupil.  It always has same sty le and made from high faith of craft man. There is a small stair for the preaching monk use for geting up to sit inside. It’s always small shape fit to human body  and lift up for the voice from the monk surround. It’s northern craft man technique using as a speaker today.



ลวด ลายคำพวกนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีมานานถึงร้อยกว่าปี ซึ่งยังคงความสวยงาม แต่ภาพบางส่วนเริ่มไม่ชัดเจนเหมือนของใหม่ ดังนั้นสิ่งที่ฉันกำลังทำทุกวันนี้คือเก็บสะสมภาพความสวยงามเหล่านี้ให้คง อยู่ตลอดไปโดยการถ่ายภาพเก็บไว้เป็นหลักฐาน The golden old northern style painting or Laicome for over a hundred year unbelievable it’s still beautiful but some paint not clear as new. So what I’m doing today is collecting and keeping this beauty forever by my photos. 

บันไดสำหรับพระธรรมกถึก(พระนักเทศน์)เข้าไปนั่งข้างใน There is a small stair for the preaching monk use for geting up to sit inside.

This carving stair not same as the other temple pulpit.


วัดทางล้านนาโบราณจะมีสิ่งนี้ ไว้เป็นเสมือนเขาพระสุเมรจำลอง เป็นธรรมเนียมของวัดทางเหนือโบราณ ต่อมาได้รับเอาวัฒนธรรมทางภาคกลางเข้ามา วัดทางเหนือปัจจุบันจึงใช้โต๊ะหมู่บูชาแบบภาคกลางแต่วัดดั้งเดิมจริงๆ จะมีสิ่งนี้อยู่ด้วย  This wooden carved stumulate as Sumain mountian. It's the old tredition of Northern(Lanna) Temple. Today northern temple take central tredtion that using a table instead and this thing lost and left only in the old temple.
31ม.ค.54 (31  January 2011)








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น