ส่วนหลังวัดเป็นที่โล่งๆ น่ากลัว(คิดเอง)Behind temple is nothing but a stair of Vihan. This Vihan head to east. You may wonder why the Vihan’sgate hot west that nearer from the front. It’s the tradition of old Vihan that still use till new generation. We head the gate of Vihan to east side. สิงห์หน้าประตู สวยมาก The lion(Sing) at front gate จากจารึกหน้าอุโบสถปรากฏนามผู้สร้างและวันสร้างคือพ.ศ.2518 อุโบสถที่นี่สวยแปลกตาจริงๆค่ะ เพราะลายปูนปั้นสวยงามวิจิตรแถมมีกำแพงนาคราชกั้นข้างหน้าไม่เหมือนที่อื่นจริงๆ The Thai sign at the front Naga wall of this Ubosot show it’s built in 2518 BE. Very different from the other temple from big Naga wall. And the beauty of elaborate sculpture. น่าจะเป็นหอไตรหรืออุโบสถ ถ้าเป็นอุโบสถก็แสดงว่าที่นี่ไม่มีหอไตรและมีอุโบสถ 2 แห่ง หรือเปล่า? ผู้รู้ช่วยบอกด้วย I don’t know how to call this building. Ubosot or Hall Trai. If it’s be Ubosot that mean this temple has 2 Ubosots but no have Hall Trai. |
มาเยือนวัดนี้ประมาณบ่ายๆ จำได้ว่าเป็นวัดที่น่ากลัวที่สุด เพราะมีสุนัขเห่าไล่แต่ก็ไม่ละความตั้งใจ(ใจดีสู้หมา) คิดเสียว่าเรามาดี มาทำความดี ในที่สุดก็ถ่ายรูปได้อย่างทุลักทุเล เพราะหมาตามเห่าตลอดไม่ว่าจะเดินไปทางใหนและหมามีมากกว่าสิบตัว ในที่สุดก็สงสารพระท่านก็เลยกลับ เนื่องจากพระท่านคงรำคาญเสียงหมาเห่าเลยมาเชิญให้ออกไปจากวัด เลยไม่แนะนำให้ท่านมาเที่ยวยกเว้นมาทำบุญคนเยอะๆ หมาคงไม่ตามเห่าเนื่องจากคนเยอะเกินไปตามเห่าไม่ไหว 55++ I visited this temple around noon. There are a lot of dogs in this temple (more than 10!) The dogs follow me all the time I took the pictures. It’s barked all the time. Finally I had to back home because there was a monk drive me away from noisy dogs barked. Now you know how hard of my job! |
ประวัติวัดศรีโขง
คำ ว่า "ศรีโขง" เล่ากันว่า เนื่องมาจากเดิมบริเวณที่เป็นพระเจดีย์ของวัดศรีโขงนี้ เคยมีต้นไม้สรีหลวง คือ ต้นโพธิใหญ่ ซึ่งมี "โขง" หรือ "โพลง" ที่โคนต้น โขงที่ว่านี้มีขนาดกว้างใหญ่ขนาดที่คน 20 คน สามารถเข้าไปหลบฝนได้เลยทีเดียว
ความจริงคำว่า "สรี" หมายถึงต้นโพธินี้ คนเมืองเขียนตามหลักภาษาบาลี คือ (เป็นตัวเมืองพิมพ์ไม่เป็น ให้อ่านในคำจารึกแทนนะครับ) อ่านออกเสียงว่า "สะ-หลี" ภายหลังเขียนตามรูปภาษาสันสกฤตเป็น "ศรี" จึงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
ต่อมา มีการสร้างวัดขึ้นมาและมีโยมอุปัฏฐากท่านหนึ่งในบรรดาหลายๆท่าน คือ แม่บุญศรี กระสัยชัย ภรรยาของนายเตี๋ยเซ้ง กระแสชัย (แซ่ตัน) ลูกสาวคนสุดท้องของหลวงสุนทรโวหารกิจ (บุญถึง แซ่โค้ว) กับนางยิ้มลูกหลาน แม่บุญศรีใช้นามสกุลกระแสชัย สุริยา มีชูกุล ศิริพงศ์ และ หนึ่งในบรรดาลูกๆของท่านคือ อาจารย์วิทยา กระแสชัย เทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ในอดีต
ในยุคหลวงตาป้อมเป็นเจ้าอาวาส มีการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยสอนบาลีมีพระมหาพร รตนวณโณ (อาจารย์พร รัตนสุวรรณ) พระมหาเฉวียงเป็นผู้สอน มีนางสาวสมบุญ เธียรสิริ เป็นผู้ให้การสนับสนุน มีพระมหาวิเชียรมาสอนวิปัสสนา
ตามหนังสือ "วัดสำคัญของนครเชียงใหม่" เล่ม ๓ ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และหน่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ หน้า ๘๓ บอกว่า วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๖๔ ถนนเจริญราษฏร์ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๙๐ ตารางวา
ตรง ข้ามกับประตูวัดทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นหลังวัด มีท่าน้ำใหญ่ติดกับน้ำแม่ปิง คนจึงเรียกกันว่า "ท่าศรีโขง" ด้านเหนือติดกับคุ้มเจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน) เดิมทิศใต้ติดกับที่ชาวบ้าน เดิมเป็นที่ขึ้นขอนไม้สักที่ไหลมาตามน้ำแม่ปิงจุดหนึ่ง ปัจจุบันเอกชนสัมปทานเป็นท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวใช้ชื่อว่า "ท่าเรือหางแมงป่อง"
History of Sri-Khong temple
Khong is Northern old word (Now we don’t use this word) mean a hole of Pho tree(North word says Sale tree). There is the legend about this hold that very wild around 20 people could got inside for hided the rain!
From the book name Important temple of Chiangmai says this temple built at 2410 BE. ความจริงคำว่า "สรี" หมายถึงต้นโพธินี้ คนเมืองเขียนตามหลักภาษาบาลี คือ (เป็นตัวเมืองพิมพ์ไม่เป็น ให้อ่านในคำจารึกแทนนะครับ) อ่านออกเสียงว่า "สะ-หลี" ภายหลังเขียนตามรูปภาษาสันสกฤตเป็น "ศรี" จึงทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
ต่อมา มีการสร้างวัดขึ้นมาและมีโยมอุปัฏฐากท่านหนึ่งในบรรดาหลายๆท่าน คือ แม่บุญศรี กระสัยชัย ภรรยาของนายเตี๋ยเซ้ง กระแสชัย (แซ่ตัน) ลูกสาวคนสุดท้องของหลวงสุนทรโวหารกิจ (บุญถึง แซ่โค้ว) กับนางยิ้มลูกหลาน แม่บุญศรีใช้นามสกุลกระแสชัย สุริยา มีชูกุล ศิริพงศ์ และ หนึ่งในบรรดาลูกๆของท่านคือ อาจารย์วิทยา กระแสชัย เทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ในอดีต
ในยุคหลวงตาป้อมเป็นเจ้าอาวาส มีการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยสอนบาลีมีพระมหาพร รตนวณโณ (อาจารย์พร รัตนสุวรรณ) พระมหาเฉวียงเป็นผู้สอน มีนางสาวสมบุญ เธียรสิริ เป็นผู้ให้การสนับสนุน มีพระมหาวิเชียรมาสอนวิปัสสนา
ตามหนังสือ "วัดสำคัญของนครเชียงใหม่" เล่ม ๓ ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และหน่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ หน้า ๘๓ บอกว่า วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๖๔ ถนนเจริญราษฏร์ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๙๐ ตารางวา
ตรง ข้ามกับประตูวัดทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นหลังวัด มีท่าน้ำใหญ่ติดกับน้ำแม่ปิง คนจึงเรียกกันว่า "ท่าศรีโขง" ด้านเหนือติดกับคุ้มเจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน) เดิมทิศใต้ติดกับที่ชาวบ้าน เดิมเป็นที่ขึ้นขอนไม้สักที่ไหลมาตามน้ำแม่ปิงจุดหนึ่ง ปัจจุบันเอกชนสัมปทานเป็นท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวใช้ชื่อว่า "ท่าเรือหางแมงป่อง"
History of Sri-Khong temple
Khong is Northern old word (Now we don’t use this word) mean a hole of Pho tree(North word says Sale tree). There is the legend about this hold that very wild around 20 people could got inside for hided the rain!
Next to temple at north is the old royal house Wongtawan Rajabut Princess.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น