วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ เชียงใหม่ WAT UMONGMAHATHERACHAN

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์

WAT UMONGMAHATHERACHAN 



วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ถูกค้นพบในต้นฤดูหนาว ปี พ.ศ.2461 พบว่าเป็นวัดร้าง มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักและมีซากอุโมงค์สำหรับเป็นที่เดินจงกรม มีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.1 เมตร ลึกประมาณ 2.1 เมตร มีป้ายติดอยู่กับหลักบอกชื่อว่า "วัดอุโมงค์ (เถรจันทร์)" เรียกอีกอย่างว่า "วัดโพธิ์น้อย"

มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา เป็นวัดที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2522
this temple has found at began of winter in 2461BE. It’s abandon temple not too big land and contain a tunnel for walk Jongkrom (the walk style for concentrate of Buddhist there are 3 step or more) about 6 m. wild1.1 m dept 2.1 m.
Silapakorn bureau account this temple to be ancient remains since 2522 BE.
ในตำนานใบลานได้จารึกไว้ว่า พระภืกษุรูปหนึ่งชื่อ "พระมหาเถรจันทร์" ซึ่งเป็นพระเถรผู้ใหญ่ในยุคนั้นมีความแตกฉานในทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นที่เคารพของคนทั้งหลาย พระเจ้ากือนา กษัตริย์อันดับที่7 ของ เมืองล้านนาไทยก็ได้ให้ความเคารพนับถือพระเถรจันทร์องค์นี้อย่างสูง เมื่อพระองค์มีข้อสงสัยประการใดก็ทรงให้อำมาตย์ ราชบุรุษนำราชยานไปรับ เพื่อเข้าเฝ้าชี้แจงข้อสงสัย
manuscript on Lan leaf said Mahaderajan is an important monk in Buddha words and good for teaching people. So he be respected from people and Guena King if the king has some trouble he always ordered his man to brought the monk for explain.
บางครั้งพระมหาเถรจันทร์ไปพำนักที่วัดไผ่ 11 กอ เชิงดอยสุเทพเพื่อความสงบ เมื่อพระเจ้ากือนาทรงทราบจึงให้อำมาตย์ราชบุรุษไปสร้างวัดอุโมงค์ไว้อีกที่หนึ่ง ในปี พ.ศ.1921 พระมหาเถรจันทร์จึงได้เป็นเจ้าอาวาสทั้งสองวัด เมื่อท่านอายุได้ 77 ปี มีพรรษาได้ 56 พรรษา ท่านก็ได้มรณะภาพลงที่วัดอุโมงค์แห่งนี้ในปี พ.ศ.1945
The abbot or Mahaderajan sometimes went to 11 clump of bamboos temple or in thai call wat pai sib ed kor. At the base of Suthep temple for concentrate. Guena king known and built the tunnel for him another one  now we call the temple name as Umong temple he was die in 1945 BE. Here.


ประวัติ

วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (วัดโพธิ์น้อย)

ชาวบ้านเรียกว่า วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เดิมชื่อว่า "วัดโพธิ์น้อย"
People call WAT UMONGMAHATHERACHAN but the old name is Po noi temple.

วัดนี้ก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1839-1840 สร้าง โดยพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์ คือ พญามังราย หรือพระเจ้าเม็งราย ผู้ปกครองเมืองเชียงราย พญางำเมือง ผู้ปกครองเมืองพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยอ้างหลักฐานจาก "คัมภีร์ธรรมปัญหาเถรจันทศรมณ์" กล่าวคือเมื่อครั้งที่สร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อกษัตริย์ทั้งสามได้วางผังเมืองเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดสร้าง "วัดโพธิ์น้อย" ขึ้นเป็นวัดแรกของเชียงใหม่ และได้สร้างไว้ที่ในจุดกลางเมือง
this temple sat around 1839-1840 BE. Built from 3 kings that settle down Chiangmai city Mangrai king of Chiangrai city, Ngam muang King of Payao city, Ramkamhang maharaj King of Sukhotai. There is manuscript name Panya dera jan tamanee said about the time when began built chiangmai realm. The kings  set Ponoi temple to be first temple of Chiangmai at the centre of the city.
อุโบสถสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1839-1840 เป็น ลักษณะทรงไทยแบบล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขาว เสาและโครงหลังคาเป็นไม้สักทั้งหลัง ของเดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบ

วิหารสร้างเมื่อปี พ.ศ.1910-1914 มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านนาเช่นกัน
Ubosot sat around 1839-1840 BE. It’s Lanna(classic north) shape style built by brick and white cement. The pillars and roof structure is teak woods.
Vihan built at 1910-1914 BE. By Lanna style.
พระเจดีย์มี 2 องค์ พระเจดีย์อุโมงค์ องค์ที่ 1 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง เมื่อปี พ.ศ.1910 พระเจ้ากือนา หรือ พญากือนา กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 6 ได้ บูรณะถวายท่านมหาเถรจันทร์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อยในขณะนั้น เมื่อบูรณะเสร็จ จึงเปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์น้อยเป็นวัดอุโมงมหาเถรจันทร์ ส่วนพระเจดีย์องค์ที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1916
there are 2 pagoda
The first one set at the south of Vihan in 1910 BE. Geu na King no.6 of Mengrai dynasty restored this temple for Mahaderajan the abbot of this temple when it’s finished they turn this temple name to be Maha derajan temple  the next pagoda sat at the west of Vihan.





 การ ถ่ายภาพ ทำให้เก็บรายละเอียดอย่างเช่นลวดลายที่สามารถเลือนหายไปตามกาลเวลาไ้ด้ อย่างข้างหลังพระนี่ ถ้าไม่่ถ่ายไว้ก็ไม่รู้ว่าของเดิมเป็นอย่างไร ถ่ายไว้ก่อนที่จะเลือนดีกว่า The photo can keep all detail of classic painting before it's lost with time. We just need the one whom do it and I'll do it.
องค์ที่ 1 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง เมื่อปี พ.ศ.1910 ข้างหน้าเป็นบ่อน้ำ มีป้ายบอกว่าเดิมทีเป็นวิหารหลวงเก่า สร้างในปี 1940 เท่าที่จำได้เมื่อ10ปีที่แล้วเป็นอาคารเล็กๆ ติดกับเจดีย์เป็นอุโมงค์สร้างด้วยอิฐ และยังคงเห็นโครงสร้างการเรียงอิฐเป็นรูปอุโมงค์ตอนนั้น แต่ว่าตอนนี้เหลือแต่บ่อน้ำ!
he first one set at the south of Vihan in 1910 BE. In front of the pagoda is a place that use to be the old Vihan that sat in 1940 BE. I can remember about 10 years ago that I use to visit this temple it's a brick building struckture with almost of it, a small one to be a tunnal shape but today it's gone and it's a pity that I'm too young and couldn't have good camara as today. So why I'm doing this things today! take all detail of temple picture.








 พระเจดีย์องค์ที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1916
the scond pagoda sat at the west of Vihan.


อุโบสถ  ที่มีพระยิ้มได้อยู่ข้างใน Ubosot that contain smilling buddha image.

พระพุทธรูปสำคัญภายในวัดมี 4 องค์ คือ
About Buddha image have 4 ones.
1. พระพุทธเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หรือ หลวงพ่อสมใจนึก หล่อด้วยโลหะปูนผสมเกศาดอกบัวตูม และลงรักปิดทองทับอีก มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.90 เมตร สูง 2.20 เมตร เป็นพระประธานในอุโบสถ แบบปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1839-1840
1. Somjai nuke Buddha image(it’s name mean as you wish) it’s 1st Chiangsan style it’s the biggest one in Ubosot.
2. พระพุทธปฏิมากร (หลวงพ่อโต หรือ หลวงพ่อใหญ่) พระประธานในวิหารหลวง หล่อด้วยปูนลงรักปิดทอง เกศาแบบเปลวเพลิง มีขนาดหน้าตัก 2.90 เมตร สูง 3.70 เมตร เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างราวปี พ.ศ.1910-1914
Yai or To Buddha image in Vihan. It’s the main Buddha in this temple
3. พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์สามแบบปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์รมดำเกศาดอกบัวตูม มีขนาดกว้าง 77 เซนติเมตร สูง 1.05 เมตร ประดิษฐานหน้าพระประธาน (หลวงพ่อโต) ณ วิหารหลวงภายในวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
Black Buddha image from bronze and smoke to black color. It’s 3rd chiangsan style Buddha immage. Wild 77 cm. and high 1.05 m.
4. หลวงพ่อไร่หอม เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ.2057 ประดิษฐาน ณ วิหารหลวง (อัญเชิญมาจากวัดไร่หอม และวัดนี้ไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด)
Raihom Buddha image casted in 2057 BE. They named this image from the name of Raihom temple but don’t know now where is this temple.



วัด อุโมงค์เถรจันทร์เป็นวัดที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือสับสนว่า จะใช่ที่เดียวกับวัดอุโมงค์ตรงเชิงดอยสุเทพหรือไม่ ซึ่งความจริงแล้วเป็นคนละที่กันนะครับ วัดอุโมงเถรจันทร์เป็นวัดที่อยู่ใจกลางเมืองอยู่ใกล้กับวัดดับภัย เป็นวัดที่สะอาดและมีการดูแลสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี ถ้าใครไปเดินเที่ยวใจกลาง เมืองเชียงใหม่แล้ว ก็น่าจะแวะเข้าไปเที่ยวที่วัดนี้
Chaingmai has 2 Umong temple but different place. One set at the base of Doi suthep another in the middle of the city. Now this temple not be abandon temple anymore. And also has lot of monks here. Now very clean and lot of tree shadow inside.


พระพุทธรูปยิ้มได้ ข่าวดังเมื่อ 2 ปีก่อน

(ต้อง ขอขอบคุณภาพจากลิ้งนี้นะคะ  คุณสามารถคลิ้งเพื่อลิ้งไปดูภาพได้ค่ะ youcan see the picture from shutter sit that I put the link uper here)
The Buddha image can smile. It’s use to be a big news years ago. This Buddha image in Ubosot I think it’s name Somjai nuke Buddha image. It’s can change his face to be smailling face by light. We believe if we respect this Buddha image we will get wit by the head whom began to found this Buddha image .. Maha Derajan  some believe can take the picture some don’t believe can’t take the picture is just what I ‘ve known by people word just like a miracle.

                    ตอนที่ผมได้มีโอกาสเข้าไปถ่ายรูปพระพุทธรูปองค์นี้ ทางวัด จะเปิดให้เข้าชมเป็นรอบๆ และจะมีพระคอยบรรยาย พระท่านบอกว่า ต้องขออนุญาตพระพุทธรูปก่อน ถ้าไม่เช่นนั้นจะถ่ายไม่ติด เรา คนไทยหัวใจพุทธ ถึงแม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ แต่เมื่อพระท่านบอกมา เราก็ไม่ได้ฝ่าฝืน ทำการกราบไหว้บูชาขออนุญาตก่อน อีกอย่างนึงที่พระท่านบอกไว้ ว่าถ้าได้มีโอกาสมาไหว้พระพุทธรูปองค์นี้แล้ว สติปัญญาจะฉลาด
                    และต่อไปนี้ ก็ขอเชิญชม พระพุทธรูปยิ้มได้ เปลี่ยนแปลงใบหน้าได้หลากหลายอารมณ์แล้วแต่คนจะมอง และมองด้วยสติปัญญา หาหลักของเหตุและผลเอาเองนะครับ ว่าพระท่านเปลี่ยนแปลงใบหน้าไปได้อย่างไร
I counld’t get inside to take a picture ‘cos I’m a woman and not allow to get inside Ubosot. It’s a pity thing. And this temple told they have time to open for visit too. You have to check before coming.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น