วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดช่างเคี่ยน ChiangKian Temple

วันเสาร์ที่ 27-8-54 

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของวัดช่างเคี่ยนคือ อุโบสถที่สร้างขวางทางตะวัน เรียกว่า มหาอุตม์ ซึ่งอุโบสถของล้านนาจะพิเศษกว่าของภาคกลางคือสามารถเข้าได้ทางเดียว โดยเป็นอุโบสถแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างพระนอนในอุโบสถ  ซึ่งเป็นพระปางประจำคนเกิดวันอังคาร น่าแปลกคือผู้อุปถัมภ์วัดส่วนใหญ่จะผ่านวิกฤตชีวิต หรือ มาอธิษฐานขอพรจากพระพุทธรูปของอุโบสถสำเร็จ เป็นผู้เกิดวันอังคารทั้งสิ้น  ท่านบอกว่าสมัยโบราณเขาใช้อุโบสถนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำหรับให้ศาสตราวุธมีอำนาจ  ท่านบอกว่าที่สร้างพระนอนอาจเนื่องจากความเชื่อที่ว่า วันอังคาร แรงที่สุดในบรรดาวันต่างๆ ดังนั้นจึงนาจะเกิดอิทธิฤทธิ์สูงสุด  ทางวัดจึงเคร่งครัดมาก และไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าในอุโบสถ ข้าพเจ้าจึงแนะนำท่านว่า ให้ทำที่กั้นไม่ให้เข้าแต่สามารถมองดูและไหว้พระจากนอกประตูได้  ที่น่าแปลกอีกอย่างคือ ยอดพระโมลีของพระนอนแทงเข้าไปในผนังอุโบสถลึกประมาณ 2 นิ้ว ทางวัดจึงได้ปฏิสังขรณ์พร้อมกับเจาะผนังไม่ให้พระโมลีชนกำแพง



วิหาร ท่านเจ้่าอาวาสบอกว่า อายุน่าจะไม่ต่ำกว่า 100 ปี เป็นขนาดและทรงดั้งเดิม สังเกตได้จากการใช้ไม้ลิ่มตอกแทนตะปู  อาจมีการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาบ้างแต่ชาวบ้านไม่ให้เปลี่ยนแปลงรูปทรงวิหาร ส่วนหน้าบรรณ ท่านบอกว่าถ้าสังเกตให้ดู ลายปูนปั้นจะคล้ายกับอุโบสถเก่าที่ประดิษฐานพระเก้าตู้ของวัดสวนดอก ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นด้วย เนื่องจากข้าพเจ้าเคยไปถ่ายภาพด้านหลังวิหารวัดสวนดอก (แต่ของวัดสวนดอกไม่ได้ทาสีใหม่แบบของวัดช่งเคี่ยน) ลวดลายปูนปั้นติดกระจก คล้ายคลึงกันเป็นลายเก่า แต่ว่าทางวัดช่างเคี่ยนเพิ่งทาสีใหม่ค่ะ

ขอขอบคุณท่านเจ้าอาวาสของวัดช่างเคี่ยน พระปลัดพอใจ ฉนฺทโก   ในการอำนวยความและอนุญาตให้บันทึกภาพสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนให้ความรู้และความเป็นมาเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างของวัดช่างเคี่ยน

ประวัติวัดช่างเคี่ยน

วัดช่างเคียน  ตั้งอยู่    เลขที่  1  บ้านช่างเคี่ยน  ถนนห้วยแก้ว  ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  5  ไร่  49  ตารางวา  โฉนดเลขที่  29330
          ประวัติความเป็นมา  จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของคำพื้นเมืองล้านนาที่เกี่ยวกับ
คำว่า  "ช่าง"  นำหน้า  เช่น วัดช่างกระดาษ  อำเภอสันป่าตอง  วัดช่างคำ  (ช่างทอง)  อำเภอหางดง  และวัดช่างเคิ่ง  (เครื่องประดับ)  อำเภอสารภี  สันนิษฐานว่า  คำว่า  "ช่าง"  คงเป็นวัดในกลุ่มที่ราชวงศ์กาวิละได้มาฟื้นฟู  ภายหลังจากที่ขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่ได้สำเร็จในปี  พ.ศ. 2347  และคำว่า  "เคี่ยน"  แปลว่า  "กลึง" อย่างไรก็ตาม จากการออกสำรวจพื้นที่เพื่อสืบสาวหาประวัติความเป็นมาของชุมชนในบริเวณหมู่บ้านช่างเคี่ยน  ตำบลช้างเผือก ข้อมูลสัมภาษณ์ชุดหนึ่ง  ซึ่งได้มาจากพ่ออุ้ยมอย  อินต๊ะชาญ  อายุ  92  ปี  มีใจความว่าในชั่วชีวิตของท่านประมาณ  85  ปีที่ผ่านมา  เท่าที่จำความได้ ท่านยังไม่เคยเห็นว่ามีช่างเคี่ยนหรือช่างกลึงในหมู่บ้านนี้เลย ประกอบกับในตำนานพระธาตุดอยสุเทพเรียกท้องที่ละแวกนี้ว่า "ช้างเคียน"  คำว่าช่างเคี่ยนจึงอาจมาจากคำนี้ได้เช่นกัน  นอกจากนี้พ่ออุ้ยมอยยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของวัดและหมู่บ้านช่างเคี่ยนว่า  เดิมสถานที่ตั้งวัดในปัจจุบันเป็นปางช้างของเจ้าหลวงเชียงใหม่  โดยช้างในปางช้างแห่งนี้มีหน้าที่ขนอุปกรณ์จำพวกวัสดก่อสร้างขึ้นไปบูรณะพระธาตุดอยสุเทพ  ต่อมาในปีพ.ศ. 2477  ครูบาศรีวิชัยนักบุญล้านนาไทยได้สร้างถนนตามแนวทางของช้างที่เดินต่างของขึ้นไปนี้เอง  ก่อนกลับท่านยังแนะนำให้เยี่ยมชมสู่เว็บไซต์ของวัดช่างเคี่ยน(เข้าสู่เว็บไซต์วัดช่างเคี่ยน) ซึ่งข้าพเจ้าได้ดาวโหลดประวัติของวัดช่างเคี่ยนมาจากเว็บไซต์ของวัด ต้องขอขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสซึ่งท่านมีเมตตาอำนวยความสะดวกในการบันทึักภาพและประวัตของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในวัดเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ท่านเจ้าอาวาสยังได้แนะนำให้รู้จักช่างปิดทองท่านหนึ่งชื่อว่า ช่าง ภคพน  จอมนาสวน ซึ่งช่างกำลังปิดทองโต๊ะหมู่บูชาของวัดอยู่พอดีสอบถามแล้วปรากฎว่าช่างผู้นี้ยังมีผลงานหลายชิ้นในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งข้าพเจ้าจะลงรายละเอียดผลงานของช่างผู้นี้ ตลอดจนผลงานของช่างผู้รังสรรค์ผลงานเกี่ยวกับวัดในจังหวัดเชียงใหม่ทุกท่าน ในเว็บไซต์ Chaigmai Magazine เท่าที่จะหาข้อมูลได้ต่อไป












 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น