วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

วัดช่างเคี่ยน ChiangKian Temple

27.8.54 เสาร์


      วันนั้นเป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ได้รับความอนุเคราะห์และความเมตตาจากท่านเจ้าอาวาสของวัดช่างเคี่ยน พระปลัดพอใจ ฉนฺทโก ในการอำนวยความสะดวกและอนุญาตให้บันทึกภาพสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของวัดช่างเคี่ยน ตลอดจนให้ความรู้และความเป็นมาเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างของวัดช่างเคี่ยน ซึ่งข้าพเจ้าจะขออนุญาตถ่ายทอดในเว็บไซต์นี้ต่อไป

                    

สิ่งปลูกสร้างในวัด ได้แก่ พระเจ้าทันใจ พระสิวลี วิหารหลวง และอุโบสถ ที่น่าสนใจก็คือ อุโบสถ ที่สร้างขวางทางตะวัน เป็นอุโบสถเก่าแก่กว่าวิหาร เป็นอุโบสถล้านนาที่พิเศษกว่าของภาคกลางคือ เข้าได้ทางเดียว  ของวัดนี้จะเป็นอุโบสถแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีพระนอน ส่วนของวัดอื่นเขาจะสร้างปางนั่งกันเป็นส่วนใหญ่ พระนอนนี้เป็นปางประจำวันเกิดคนวันอังคาร  ที่น่าแปลกคือ ผู้อุปถัมภ์ส่วนใหญ่จะได้รับปาฏิหาร์จากการอธิษฐานขอจากพระพุทธรูปของอุโบสถนี้จึงผ่านวิกฤตชีวิตมาได้  แถมท่านเหล่านั้นยังเกิดวันอังคารอีกด้วย ดังนั้นเจ้าภาพผู้อุปถัมภ์ปฏิสังขรอุโบสถจึงเป็นผู้เกิดวันอังคารทั้งสิ้น   สมัยโบราณเขาใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีให้ศาสตราวุธ มีอำนาจท่านเจ้าอาวาสบอกว่าเขาเรียกว่าอุโบสถมหาอุตม์  ท่านบอกว่าที่สร้างพระนอนอันเป็นพระประจำวันเกิดอังคารนั้นอาจเนื่องด้วยความเชื่อที่ว่าวันอังคารแรงที่สุดในบรรดาทุกวันจึงน่าจะเกิดอิทธิฤทธิ์สูงสุด ดังนั้นทางวัดจึงเคร่งครัดมากและไม่อนุญาตให้สัตรีเข้าไปข้างในอุโบสถ  ข้าพเจ้าจึงแนะนำท่านว่าให้ดูแค่ตรงประตูก็ได้โดยทำที่กั้นไว้  (ข้าพเจ้าเองก็อยู่ข้างนอกอุโบสถแล้วบันทึกภาพพระนอนองค์นี้) เป็นพระพุทธรูปทรงล้านนาโบราณจริงๆและพระพักตร์และพรศอ แปลกกว่าพระพุทธรูปรุ่นหลัง  ท่าน เจ้าอาวาส ยังเล่าเหตุการณ์อัศจรรย์เกี่ยวกับการปฏิสังขรณ์อุโบสถอีกว่าช่างต่างๆ ต่างพร้อมใจกันมาร่วมกันสร้างเสร็จภายใน 5 วัน อีกทั้งช่างเก้า ซึ่งเป็นช่างผู้มีชื่อเสียงมากและมักจะไม่ว่าง ยังอุตส่าห์มาช่วยปฏิสังขรณ์จนเสร็จสิ้น  ที่น่าแปลกอีกอย่างคือ เขาสร้างให้พระโมลีแทงเข้าไปในผนังกำแพงประมาณสองนิ้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกจริงๆ คาดว่าในประเทศไทยคงมีที่นี้เพียงแห่งเดียวที่มีอะไรแปลกๆ อย่างนี้  ท่านจึงว่า เพื่อให้ถูกหลักท่านจึงให้เจาะผนังให้ปลายพระโมลีพ้นจากผนัง





ประวัติวัดช่างเคี่ยน

วัดช่างเคียน  ตั้งอยู่    เลขที่  1  บ้านช่างเคี่ยน  ถนนห้วยแก้ว  ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  5  ไร่  49  ตารางวา  โฉนดเลขที่  29330
          ประวัติความเป็นมา  จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของคำพื้นเมืองล้านนาที่เกี่ยวกับ
คำว่า  "ช่าง"  นำหน้า  เช่น วัดช่างกระดาษ  อำเภอสันป่าตอง  วัดช่างคำ  (ช่างทอง)  อำเภอหางดง  และวัดช่างเคิ่ง  (เครื่องประดับ)  อำเภอสารภี  สันนิษฐานว่า  คำว่า  "ช่าง"  คงเป็นวัดในกลุ่มที่ราชวงศ์กาวิละได้มาฟื้นฟู  ภายหลังจากที่ขับไล่พม่าออกไปจากเชียงใหม่ได้สำเร็จในปี  พ.ศ. 2347  และคำว่า  "เคี่ยน"  แปลว่า  "กลึง" อย่างไรก็ตาม จากการออกสำรวจพื้นที่เพื่อสืบสาวหาประวัติความเป็นมาของชุมชนในบริเวณหมู่บ้านช่างเคี่ยน  ตำบลช้างเผือก ข้อมูลสัมภาษณ์ชุดหนึ่ง  ซึ่งได้มาจากพ่ออุ้ยมอย  อินต๊ะชาญ  อายุ  92  ปี  มีใจความว่าในชั่วชีวิตของท่านประมาณ  85  ปีที่ผ่านมา  เท่าที่จำความได้ ท่านยังไม่เคยเห็นว่ามีช่างเคี่ยนหรือช่างกลึงในหมู่บ้านนี้เลย ประกอบกับในตำนานพระธาตุดอยสุเทพเรียกท้องที่ละแวกนี้ว่า "ช้างเคียน"  คำว่าช่างเคี่ยนจึงอาจมาจากคำนี้ได้เช่นกัน  นอกจากนี้พ่ออุ้ยมอยยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของวัดและหมู่บ้านช่างเคี่ยนว่า  เดิมสถานที่ตั้งวัดในปัจจุบันเป็นปางช้างของเจ้าหลวงเชียงใหม่  โดยช้างในปางช้างแห่งนี้มีหน้าที่ขนอุปกรณ์จำพวกวัสดก่อสร้างขึ้นไปบูรณะพระธาตุดอยสุเทพ  ต่อมาในปีพ.ศ. 2477  ครูบาศรีวิชัยนักบุญล้านนาไทยได้สร้างถนนตามแนวทางของช้างที่เดินต่างของขึ้นไปนี้เอง  ก่อนกลับท่านยังแนะนำให้เยี่ยมชมสู่เว็บไซต์ของวัดช่างเคี่ยน(เข้าสู่เว็บไซต์วัดช่างเคี่ยน) ซึ่งข้าพเจ้าได้ดาวโหลดประวัติของวัดช่างเคี่ยนมาจากเว็บไซต์ของวัด ต้องขอขอบพระคุณท่านเจ้าอาวาสซึ่งท่านมีเมตตาอำนวยความสะดวกในการบันทึักภาพและประวัตของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในวัดเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ท่านเจ้าอาวาสยังได้แนะนำให้รู้จักช่างปิดทองท่านหนึ่งชื่อว่า ช่าง ภคพน  จอมนาสวน ซึ่งช่างกำลังปิดทองโต๊ะหมู่บูชาของวัดอยู่พอดีสอบถามแล้วปรากฎว่าช่างผู้นี้ยังมีผลงานหลายชิ้นในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งข้าพเจ้าจะลงรายละเอียดผลงานของช่างผู้นี้ ตลอดจนผลงานของช่างผู้รังสรรค์ผลงานเกี่ยวกับวัดในจังหวัดเชียงใหม่ทุกท่าน ในเว็บไซต์ Chaigmai Magazine เท่าที่จะหาข้อมูลได้ต่อไป
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น