ซุ้มประตูโขงเป็นของเก่าตั้งแต่สมัยมังราย ทางวัดได้ทำเรื่องขอให้กรมศิลป์เข้ามาดูแลแต่กรมศิลป์ไม่มีงบประมาณ ท่านจึงขอให้เขียนแบบให้ และทางวัดเป็นผู้หาทุนทรัพย์มาบูรณะ โดยเสริมโครงเหล็กข้างใน
วิหารเก่าจะอยู่ด้านหน้านอกซุ้มโขงโบราณทางด้านขวามือ เป็นวิหารที่ได้รับการบูรณะมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดน่าจะอยู่ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ สังเกตจากชื่อผู้บริจาคเงินสร้างบนหน้าบรรณที่เลือนไปแต่ก็พอจะอ่านได้ว่าเป็นภาษาไทย อายุประมาณ 100 ปี
อุโบสถเป็นอาคารที่เก่ากว่าวิหารอีก สร้างยุคเดียวกับเจดีย์ของวัด แต่เพิ่งจะบูรณะเสร็จก็เลยดูใหม่ อุโบสถเป็นอุโบสถยุคมังราย สังเกตจากเสมาที่เป็นหิน ต่อมาเชียงใหม่ถูกพม่ายึดครอง เจ้าผู้ครองนครชาวพม่าได้บูรณะวัดนี้และยังฝังเสมาซ้อนกับเสมาของเดิมกลายเป็นเสมา 2 อันอยู่คู่ อีกทั้ง เปลี่ยนแปลงทรงเจดีย์เป็นทรงพม่า
โดยสร้างครอบของเดิม
วิหารสร้างในปี 2520 สมัยหลวงพ่อปัญญา เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ ช่างผู้สร้างและรับผิดชอบอาคารทั้งหมดคือ บริษัทตำหนักคอนสทรัคชั่น
ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่สร้าง ดาราเทวี
พระคู่พระประธานในวิหารเป็นจึงปิดทอง ประวัติวัดป่ากล้วยนั้นเดิมท่านว่าสร้างยุคใดไม่ปรากฎแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระพุทธรูปทั้ง 2 องค์อยู่ในวัดป่ากล้วยซึ่งร้างและชำรุดทรุดโทรม จึงได้บูรณะและอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดนี้
หอไตร ใช้บริษัทเดียวกันกับที่สร้างวิหาร โดยลอกแบบมาจากหอไตรวัดพระสิงห์ค่ะ ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง เป็นหอไม้สักข้างล่างเป็นปูน
คลิกที่ภาพข้างบนนี้เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ประวัติวัดตำหนักทั้งภาษาไทยและEnglish
ขอขอบคุณท่านพระอธิการทวีศักดิ์ นติสาโร ที่ท่านอนุญาตให้สัมภาษณ์และเมตตาให้ข้อมูลอย่างละเอียดตลอดจนมอบหนังสือประวัติวัดตำหนักตั้งแต่สมัยมังรายให้ ทำให้ทราบความเป็นมาของวัดอย่างละเอียด ซึ่งข้าพเจ้าจะได้นำเสนอในคราวต่อไป เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือมีรายละเอียดมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น